องค์ประกอบของดนตรีไทย

♣ องค์ประกอบของดนตรีไทย


1.เสียงของดนตรีไทย
      เสียงดนตรีไทยประกอบด้วยระดับเสียง 7 เสียง แต่ละเสียงมีช่วงห่างเท่ากันทุกเสียง เสียงดนตรีไทย แต่ละเสียงเรียกชื่อแตกต่างกันไป ในดนตรีไทยเรียกระดับเสียงว่า “ทาง” ในที่นี้ ก็คือ ระดับเสียงของเพลงที่บรรเลงซึ่งกำหนดชื่อเรียกเป็นที่หมายรู้กันทุกๆเสียง  จำแนกเรี
ยงลำดับขึ้นไปทีละเสียง
2. จังหวะของดนตรีไทย 
      “จังหวะ”   มีความหมายถึงมาตราส่วนของระบบดนตรีที่ดำเนินไปในช่วงของการบรรเลงเพลงอย่างสม่ำเสมอ เป็นตัวกำหนดให้ผู้บรรเลงจะต้องใช้เป็นหลักในการ    บรรเลงเพลง 
    
   จังหวะของดนตรีไทยจำแนกได้   3 ประเภท คือ 

     1. จังหวะสามัญ หมายถึง  จังหวะทั่วไปที่นักดนตรียึดเป็นหลักสำคัญในการบรรเลงและขับร้องโดยปกติจังหวะสามัญที่ใช้กันในวงดนตรีจะมี  3 ระดับ คือ
•จังหวะช้า  
•จังหวะปานกลาง
จังหวะเร็ว  ž 
      2. จังหวะฉิ่ง หมายถึง  จังหวะที่ใช้ฉิ่งเป็นหลักในการตี โดยปกติจังหวะฉิ่งจะตี “ฉิ่ง…ฉับ” สลับกันไปตลอดทั้งเพลง แต่จะมีเพลงบางประเภทตีเฉพาะ “ฉิ่ง” ตลอดเพลงบางเพลงตี “ฉิ่ง  ฉิ่ง  ฉับ” ตลอดทั้งเพลง   
      3. จังหวะหน้าทับ หมายถึง   เกณฑ์การนับจังหวะที่ใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีประเภทหนังซึ่งเลียนเสียงการตีมาจาก “ทับ”  เป็นเครื่องกำหนดจังหวะเครื่องดนตรีเหล่านี้ ได้แก่ ตะโพน กลองแขก สองหน้า โทน - รำมะนา หน้าทับ ž
3. ทำนองดนตรีไทย  ลักษณะทำนองเพลงที่มีเสียงสูงๆ ต่ำๆ สั้นๆ ยาวๆ สลับ คละเคล้ากันไป ตามจินตนาการของคีตกวีที่ประพันธ์      
  ž1. ทำนองทางร้อง  เป็นทำนองที่ประดิษฐ์เอื้อนไปตามทำนองบรรเลงของเครื่องดนตรีและมีบทร้องซึ่งเป็นบทร้อยกรอง
  2. ทำนองการบรรเลง หรือทางรับ เป็นการบรรเลงของเครื่องดนตรีในวงดนตรีซึ่งคีตกวีแต่งทำนองไว้สำหรับบรรเลง ทำนองหลักเรียกลูกฆ้อง “Basic Melody” 

4. การประสานเสียง 

      เป็นการทำเสียงดนตรีพร้อมกัน 2 เสียง พร้อมกันเป็นคู่ขนานหรือเหลื่อมล้ำกันตามลีลาเพลงก็ได้
 ž1. การประสานเสียงในเครื่องดนตรีเดียวกัน เครื่องดนตรีบางชนิดสามารถบรรเลงสอดเสียงพร้อมกันได้
2. การประสานเสียงระหว่างเครื่องดนตรี คือ การบรรเลงดนตรีด้วยเครื่องดนตรีต่างชนิดกัน สุ้มเสียง และความรู้สึกของเครื่องดนตรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น